ต้อกระจก ความเสื่อมดวงตาที่ยังสามารถรักษาได้
ต้อกระจก ขุ่นมัวเกิดขึ้น ทำให้บดบังแสงที่จะผ่านเข้าไปในตา แสงจึงส่งผ่านไปยังประสาทตาไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัวได้
ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจกก่อนวัย
- การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเข้าตาเป็นเวลานานๆ
- โรคเกี่ยวกับตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
- การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาหรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เด็กแรกเกิดที่มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
ลักษณะอาการ
- ตามัว/มองเห็น ไม่ชัดเจนโดยไม่มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า แต่กลับมองเห็นเกือบปกติในที่มืดสลัว
- มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว
- มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะเวลาขณะขับรถในตอนกลางคืน
- เปลี่ยนแว่นตาบ่อย มองเห็นในระยะใกล้ดีขึ้นหรือไม่ต้องใส่แว่นตาในระยะมองใกล้
- เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตา
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ อายุ พบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี จะมีต้อกระจกอยู่แล้วบางส่วน มักพบเลนส์ขุ่นเล็กๆ น้อยๆ หรือเป็นต้อกระจกระยะต้นๆ อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น
- โรคเบาหวาน
- ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจกก่อนวัย
- เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
- การใช้ยาบางชนิดเช่น steroid เพื่อรักษาโรค
- ติดสุรา
- เจอแสงแดดมาก
- ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
- สูบบุหรี่
- เด็กที่ขาดอาหาร
- เลนส์ตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง เช่น ถูกกระแทก
การเตรียมตัวเข้ารับการรักษาต้อกระจก
ทำการตรวจตาเพื่อคัดกรองก่อนผ่าตัดต้อกระจก จำเป็นต้องขยายรูม่านตา ซึ่งจะส่งผลให้ตาพร่า เป็นเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงควรพาญาติมาด้วยเพื่อเดินทางกลับ และผู้ป่วยควรนำยาที่ใช้เป็นประจำมาด้วยทุกครั้ง
การรักษาต้อกระจก
การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออก วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี
- Phacoemulsification เป็นวิธีที่นิยมทีสุดโดยการเจาะรูเล็กๆ แล้วใช้เครื่องสายต้อกระจก สลายเลนส์และดูดออก
- Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) โดยการผ่าตัดเปิดแผล แล้วเอาเลนส์ที่ขุ่นออกทั้งชิ้น และมีการเย็บปิดแผล
คำแนะนำ การดูแลสุขภาพดวงตา
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน
- สวมแว่นกันแดดที่กรองแสงอัลตราไวโอเลต ไม่จ้องมองดวงอาทิตย์โดยตรง
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา อย่าให้ดวงตาโดนกระแทก
- ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพตาทุกปี
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.พิชชาทร จิตต์นิลวงศ์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจักษุวิทยา
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์ตาเฉพาะทาง โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์ตาเฉพาะทาง